ข้อเสื่อม ลดอาการปวดเองได้ไม่ยาก -by-Doctor-Healthcare
เคล็ด(ไม่)ลับเมื่อก่อนถ้าได้ยินใครบ่นว่า ปวดข้อหรือข้อเสื่อม หากไม่ได้เห็นหน้าคนพูดแล้ว เราคงนึกถึงคนป่วยที่อายุมาก ๆ เดินหลังค่อมพร้อมกับไม้เท้าคู่ใจ แต่นั่นคืออดีต ปัจจุบันในประเทศไทยพบว่า 50% ของคนที่มีอาการปวดข้อหรือข้อเสื่อม (Osteoarthritis) พบว่าอายุน้อยกว่า 65 ปี มี โดยเริ่มมีอาการปวดได้ตั้งแต่อายุ 40 ปี ขึ้นไป และมีแนวโน้มว่าจะพบได้ในวัยทำงานหรืออายุน้อยลงเรื่อย ๆ ประชากรไทยทั้งหมดมากกว่า 6 ล้านหรือประมาณทุก 1 ใน 10 คนกำลังเจ็บปวด ทุกข์ทรมารกับอาการเหล่านี้ คน ๆ นั้นอาจเป็นคุณหรือคนที่คุณรักหากยังไม่ดูแลป้องกัน
อาการแบบไหนที่ควรเอะใจว่าอาจถึงคราวเรา
ระยะแรก – เริ่มปวดเข่าเวลามีการเคลื่อนไหว เช่น เดิน ขึ้นลงบันได หรือนั่งพับเข่า อาการจะดีขึ้นเมื่อหยุดพักการใช้ข้อ
– มีอาการข้อฝืดขัดโดยเฉพาะเมื่อหยุดการเคลื่อนไหวเป็นเวลานาน เมื่อขยับข้อจะรู้สึกถึงการเสียดสีของกระดูกหรือมีเสียงดังในข้อ
ระยะรุนแรง – จะปวดรุนแรงมากขึ้น อาจคล้าส่วนกระดูกงอกได้บริเวณด้านข้าง หากมีการอักเสบจะมีข้อบวม ร้อน
– ถ้ามีข้อเสื่อมมานานจะพบว่า เหยียดหรืองอข้อเข่าได้ไม่ค่อยสุด กล้ามเนื้อต้นขาลีบ ข้อเข่าบิดเบี้ยวผิดรูป ท้าให้เดินและใช้ชีวิตประจ้าวันลำบาก
การดูแลรักษาโดยการไม่ใช้ยา
ส่วนใหญ่ของผู้ที่ใช้ยาทานบรรเทาอาการ มักต้องใช้เป็นเวลานานและเกิดผลข้างเคียงได้ หรือบางรายได้ลองการรักษาทางการแพทย์มาหลายรูปแบบแล้วก็ยังไม่ดีขึ้น จึงมองหาทางเลือกอื่นมาช่วย ซึ่งพบว่าช่วยบรรเทาอาการปวด และยังสามารถกลับมาทำกิจวัตรประจำวันได้ในหลาย ๆ ราย
- ควบคุมน้ำหนัก น้ำหนักตัวมีความสัมพันธ์อย่างมากกับเข่าเสื่อม พบว่าน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น5กิโลกรัมจะเพิ่มแรงที่กระทำต่อข้อเข่า1 -1.5 กิโลกรัม ขณะเดียวกันเซลล์ไขมันที่มากเกินไปจะมีผลต่อเซลล์กระดูกอ่อนและเซลล์กระดูก ส่งผลให้ข้อเสื่อมเร็วขึ้น
- เลือกสรรอาหารที่รับประทาน ควรเป็นอาหารที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกและข้อ รวมทั้งลดการอักเสบ อาการปวด
โอเมก้า 3 มีส่วนช่วยลดกระบวนการอักเสบของร่างกาย พบมากในปลาทะเลน้ำลึก เช่น ปลาแซลมอล เมล็ดแฟกซ์ เมล็ดเชีย ถั่ววอลนัท
อาหารต้านอนุมูลอิสระ พบได้มากในผักผลไม้หลากสี เช่นผักใบเขียวเข้ม เบอร์รี่ มะละกอ สับปะรด
อาหารที่มีซัลเฟอร์หรือกำมะถัน (Sulfur) เนื่องจากแร่ธาตุกำมะถันมีส่วนช่วยทำให้หลอดเลือดขยายตัว เพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อต่าง ๆ ได้ดีขึ้น ทำให้เนื้อเยื่อได้รับออกซิเจนและสารอาหารมากขึ้น ลดกระบาวนการอักเสบ ซึ่งเป็นกลไกเดียวกับการทำงานของยาแอสไพรินที่ช่วยลดอาการปวด พบได้ในผักตระกูลกระหล่ำ เช่น ผักกาด บรอคโคลี กระหล่ำ หรือในรูปอาหารเสริม MSM (Methylsulfonylmethane)
กลูโคซามีนและคอนดรอยติน พบมากที่บริเวณกระดูกอ่อนและข้อ ช่วยเรื่องความยืดหยุ่นและรองรับการเคลื่อนไหวของข้อ อายุมากขึ้นพบว่าสารเหล่านี้มีปริมาณลดลงลง ทำให้ประสิทธิภาพการเคลื่อนไหวของข้อลดลดลงเกิดภาวะอักเสบและปวดตามมา อาหารที่มีสารอาหารที่นำไปสร้างกลูโคซามีนและคอนดรอยตินพบได้ใน น้ำต้มกระดูก ส่วนในทางการแพทย์นั้น กลูโคซามีนมีทั้งรูปแบบที่เป็นยาฉีดและอาหารเสริม (กลูโคซามีซัลเฟต) คอนดดรอยตินมีเป็นรูปแบบอาหารเสริมสำหรับทาน
ขมิ้นชั้น (Tumeric) และขิง (Ginger) มีฤทธิ์ต้านการอักเสบและลดอาการปวด ในขมิ้นชันมีสารเคอร์คูมิน (Curcumin) ที่เป็นที่ยอมรับในวงการวิทยาศาสตร์อย่างแพร่หลาย
เส้นใยธรรมชาติหรือไฟเบอร์ จุดประสงค์เพื่อช่วยทำให้อิ่มนานขึ้น ควบคุมน้ำหนักตัว พบได้ใน ผัก ผลไม้ ธัญพืช เมล็ดเชีย ถั่ว
- ออกกำลังกาย อาการปวดจากตัวโรคทำให้คนที่มีภาวะข้ออักเสบเลือกที่จะอยู่นิ่งมากกว่าเคลื่อนไหว แต่นั่นเป็นสิ่งที่ทำให้แย่ลงเพราะจะเกิดภาวะ “ ข้อติด ” มากขึ้น ความจริงแล้วควรจะออกกำลังกายแบบยืดกล้ามเนื้อเพื่อเสริมความแข็งแรงของกระดูกข้อต่อ ไม่ออกกำลังกายหนักจนเกินไป เน้นทำเป็นประจำสม่ำเสมอ
การดูแลรักษาโดยการใช้ยา
ในเบื้องต้น ยาที่ใช้ในการรักษาอาการปวดข้อ ข้ออักเสบ คือ
– ยากลุ่ม acetaminophen และ NSAID
– สารกลุ่ม Cetylated fatty acids หรือ Cetylated myristoleate และกรดไขมันที่เกี่ยวข้อง ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีส่วนช่วยให้สุขภาพของข้อต่อดีขึ้นโดยจะช่วยต้านการอักเสบของข้อ มีการศึกษาทางคลินิคพบว่า ในผู้ป่วยที่ใช้ผลิตภัณฑ์นี้สามารถช่วยเพิ่มความสามารถในการเคลื่อนไหวข้อต่อมากขึ้น ทั้งในรูปแบบทานและแบบทาผิวหนังบริเวณที่ปวด
– แต่หากมีข้อห้ามใช้ หรือกรณีมีอาการปวดที่รุนแรง ทำกิจวัตรประจำวันได้ลดลง แพทย์อาจให้คำแนะนำถึงการทานหรือการฉีดกลูโคซามีนเข้าที่ข้อนั้น ๆ รวมทั้งการฉีดยาสเตียรอยด์ด้วย
เมื่อการใช้ยาไม่ได้ผล แพทย์จะพิจารณาการผ่าตัด โดยมีการปรึกษาร่วมกันกับผู้ป่วยทั้งผลดีและผลเสียความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น อย่างไรก็ตามคำกล่าวนี้ยังคงใช้ได้เสมอคือ “ การไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ “ คนที่ยังไม่มีอาการก็เริ่มปฎิบัติตน ดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากโรค ขณะเดียวกัน คนที่มีอาการแล้วนอกจากจะต้องปฏิบัติตัวตามนี้แล้ว ก็ควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่จะทำให้ข้อต่อมีโอกาสเสื่อมเร็วมากขึ้นด้วย
There are no reviews yet.