ปัญหาหัวใจ ปัญหาระดับโลก-by-Doctor-Healthcare
ความรู้สุขภาพคุณรู้หรือไม่
ทุก 1 ชม. มีคนเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด 7 คน
ทุก 1 ชม. มีคนเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจขาดเลือด 2 คน
โรคหัวใจและหลอดเลือดไม่ได้เป็นเพียงปัญหาสำคัญในประเทศไทยเท่านั้น แต่กำลังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญระดับโลก สำหรับประเทศไทย ปี 2557 มีผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดทั้งหมด 58,681 คน หรือเฉลี่ยชั่วโมงละ 7 คน คิดเป็นอัตราตายของโรคหัวใจและหลอดเลือด เท่ากับ 90.34 ต่อแสนประชากร จำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจขาดเลือด จำนวน 18,079 คน หรือ เฉลี่ยชั่วโมงละ 2 คน คิดเป็นอัตราตายของโรคหัวใจขาดเลือด เท่ากับ 27.83 ต่อแสนประชากร
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลายอย่างเป็นลักษณะนิสัยที่เราสร้างเอง
- ภาวะไขมันในเลือดสูงทั้งคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์
- ความดันโลหิตสูง
- อ้วนและภาวะน้ำหนักเกิน
- เบาหวาน
- การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์
- ไม่ออกกำลังกาย
ปัจจุบันการรักษาด้วยยามียาลดไขมันและยาลดความดัน การทานยาลดไขมันยังคงเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆในการรักษาโดยเฉพาะกลุ่มยาสแตติน(statin) ที่มีวิจัยรับรองผลรับว่าช่วยลดคอเลสเตอรอลในเส้นเลือดและลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจหลอดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพจึงถูกใช้อย่างแพร่หลาย แต่ปัจจุบันก็มีข้อมูลมากขึ้นที่แสดงให้เห็นผลข้างเคียงจากการใช้ยา อาการที่พบบ่อยคือปวดตามตัวจากกล้ามเนื้ออักเสบ ภาวะอื่นที่พบได้ เช่น ตับอักเสบ ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ผลต่อระบบประสาท
ค่ารักษาพยาบาลด้วยเส้นเลือดหัวใจตีบหรือตันโดยทั่วไปเริ่มต้นประมาณ 100,000-200,000 บาท/เส้น ขึ้นกับประเภทของวิธีการหรือวัสดุที่ใช้ และหลังจากการรักษาแล้วก็จำเป็นที่ต้องติดตามการรักษาต่อเนื่องเพราะมีโอกาสเป็นซ้ำได้สูงกว่าคนทั่วไป จากงานวิจัยพบว่าการใช้ชีวิตแบบสุขภาพดีช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจหลอดเลือดได้ 75% ดังนั้นหากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคย่อมมีคุณภาพชีวิตที่ดีและอยู่กับตนรักได้นานกว่าแน่นอน
วิธีปฏิบัติตัวที่ดีต่อหัวใจ
- เลือกอาหารที่มีประโยชน์
- เส้นใยอาหารชนิดละลายน้ำ เช่น ผัก ผลไม้ อาหารปรุงแต่งเสริมเส้นใย ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมจะช่วยลดะดับคอเลสเตอรอลและน้ำตาลในเลือด
- Resistant starch คือ กลุ่มแป้งที่ไม่สามารถย่อยได้ในระบบทางเดินอาหารของคน เป็นอาหารของเชื้อจุลินทรีย์ดีในลำไส้จัดเป็นพรีไบโอติก(prebiotic) เช่น ธัญพืชไม่ขัดสีโฮลเกรน ช่วยปรับสมดุลระบบทางเดินอาหาร ช่วยลดคอเลสเตอรอล
- หลีกเลี่ยงหรือจำกัดปริมาณอาหารที่ให้น้ำตาลสูง เช่น ขนมเค้ก น้ำอัดลม เป็นต้น
- โซเดียม การควบคุมปริมาณโซเดียมจะช่วยลดระดับความดัน กระทรวงสาธารณสุขแนะนำไม่ควรเกิน 2,400 มก./วัน ซึ่งอาหารเครื่องดื่มหลายประเภทที่ติดสลากบอกปริมาณโซเดียมไว้ เราสามารถตรวจสอบก่อนรับประทานได้
- มีการแนะนำให้รับประทานวิตามินที่เป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ วิตามินซี วิตามินอี โคคิวเท็น
2. ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ผู้ชายไม่ควรเกิน 40 มล./วัน และผู้หญิงไม่ควรเกิน 30 มล./วัน โดยภายในหนึ่งสัปดาห์ควรมีวันปลอดแอลกอฮอล์ 2 วันต่อสัปดาห์
3. ไม่สูบบุหรี ประโยชน์ของการหยุดสูบบุหรี่ เริ่มต้นตั้งแต่วินาทีที่คุณคิดจะเลิก แต่ที่เห็นเป็นหลักฐานทางการแพทย์ชัดเจนคือ หลังจากคุณเลิกสูบบุหรี่ได้นาน 20 นาที สัญญาณชีพจรทั้งความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ อุณหภูมิร่างกาย จะกลับสู่ภาวะปกติ เลิกสูบบุหรี่ได้นาน 2 สัปดาห์ขึ้นไป จะช่วยลดความเสี่ยงของภาวะหัวใจขาดเลือด การทำงานของปอดเริ่มฟื้นตัว ยิ่งเลิกสูบได้นานเท่าไรยิ่งส่งผลดีต่อตัวคุณเอง
4. ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
5. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาที/วัน จำนวน 5 ครั้ง/สัปดาห์
There are no reviews yet.